obon

“โอบ้ง ” นับว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ สำคัญ จนไม่อาจที่จะขาดไปได้ของชาวญี่ปุ่นเลยทีเดียว ทุก ๆ ปี ในเดือน 8 ( สิงหาคม ) นั้นเดือนนี้จะเป็นเดือนที่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษจะได้รับอนุญาติให้กลับมาเยี่ยมเยือนญาติ พี่น้องและลูกหลานได้อย่างอิสระ คนญี่ปุ่นในทุกบ้านเรือนจะจัดสำรับกับข้าวพร้อมทั้งอาหาร คาวหวานและดอกไม้ขึ้นตั้งให้ไว้บนหิ้งหรือตู้ของบรรพบุรุษซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า ” บุสึดัง ” เพื่อตอนรับ ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษของตน จุดประสงค์ก็เพื่อให้ได้พักผ่อน,ได้กินอยู่อย่างอิ่มหนำสำราญ และจะมี กำหนดระยะเวลาที่จะอนุญาติให้ดวงวิญญาณเหล่านี้อยู่ที่บ้านได้นานถึงเกือบหนึ่งเดือน แล้วจากนั้นถึงจะนำกลับไปส่งยังที่สุสานอย่างเดิม ซึ่งเป็นอันว่าเป็นการเสร็จพิธีการหรือจบการ ไหว้ในวัน”โอบ้ง ”

ที่มาหรือต้นตอของธรรมเนียมของ”โอบ่ง ” นั้น เล่ากันต่อ ๆ มาว่า…เมื่อกาลก่อนเนิ่นนานที่ผ่านมา ในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่เหนือผู้ใดทั้งปวงในโลก…มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ได้มีบุรุษชื่อ ” โมคุเรน ” เป็น กำพร้ามารดาได้เสียชีวิตมานานหลายปี อยู่ต่อมาเขาเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้ออกบวช เป็นพระภิกษุ ทำการเพียรจิตสมาธิจนกระทั่งสามารถได้เห็นนรกและสวรรค์

ในครั้งหนึ่ง ” พระโมคุเรน ” ขณะที่ไปท่องอยู่ที่ใน นรกภูมิก็เกิดได้ไปพบและได้เห็นว่ามารดาของตนนั้น ต้องทนทุกขเวทนาอด ๆ อยากๆ อยู่ที่นั่น ท่านมีจิตเวทนา และนึกสงสารในผลกรรมอันแสนที่จะทารุณอันไม่จบสิ้นของมารดาเป็นอย่างมาก

วันหนึ่ง” พระโมคุเรน ” ได้มีโอกาศได้ไปเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า เมื่อมีโอกาสจึงได้เล่าเรื่องราวที่ท่านไปเห็นมารดาที่ในนรกภูมิมา และยังกราบทูล ถามว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถที่จะช่วยหรือแบ่งเบาให้มารดาของตนนั้นคลายจากทุกขเวทนานี้เสียได้… พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับรับฟังแล้วตรัสกับ” พระโมคุเรน ” ว่า ” ดูกรโมคุเรน ไม่ใช่ว่าจะคิด ช่วยแต่เฉพาะคนคนเดียว…ไม่ใช่ว่าจะคิดช่วยแต่แค่มารดาของตนแต่เพียงอย่างเดียว…จงคิดช่วย ไปถึงบุคคลอื่น ๆ ทุกคนที่ได้ตายไปครั้งก่อน ๆ ที่ไม่ใช่ญาติของเราก็ตาม…ท่านจงอุทิศส่วน กุศลและแผ่เมตตาให้กับเขาเหล่านั้นทุกคนเสียด้วย…”

เรื่องราวของพระโมคุเรนนี้ จึงทำให้เกิดธรรมเนียม”โอบ่ง ” ขึ้นในกาลเวลาต่อมา…ซึ่งก็มีจุดมุ่งหมายถึงการทำการต้อนรับ ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้กลับมาพักผ่อนที่บ้านได้และให้ได้กินอย่างอิ่มหนำ สำราญ พิธีการต้อนรับดวงวิญญาณนั้นก็จะมีการจุดไฟเพื่อรับดวงวิญญาณกันที่ท่าน้ำบ้าง, ที่หน้า บ้านของตนบ้าง, หรือไปรับกลับมาโดยตรงจากสุสานของตระกูลก็มี เป็นธรรมเนียมที่กระทำ กันต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้

“โอบ่งมาซึรี ” เป็นงานเลี้ยงฉลองต้อนรับดวง วิญญาณของบรรพบุรุษเพื่อให้เกิดความครื้นเครงรื่นรมย์หรรษาในขณะที่ได้กลับมาที่บ้าน ของตน งานจะเป็นเหมือนหรือคล้าย ๆ กับงานวัดของไทยเราดี ๆ นี่เองนั่นแหละ ด้วยจะมี การตีกลอง และจะเต้นรำไปรอบ ๆ ชั้นที่สร้างเป็นห้างอยู่กลางงานเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ก็จะ ใส่ชุด ” ยูกาตะ” ( ชุดกิโมโนหน้าร้อน ) ในงานจะมีเสียงเพลงบรรเลงอยู่ตลอดเวลาสร้าง บรรยากาศให้สนุกสนานและครื้นเครงได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว งานนี้จะมีกำหนดระยะเวลา ถึงเกือบหนึ่งเดือนเต็ม ๆ แต่จะจัดสลับกันไปในหลาย ๆ ที่ จนทั่วทั้งเมือง และในหนึ่งงานนั้น จะจัดกันประมาณ 3-4 วันเป็นอย่างน้อย

” โชเรียวอุมะ ” จะเป็นชื่อของมะเขือม่วง และ แตงกวา ที่ได้ใช้ตะเกียบหรือไม้ไผ่นำมาเหลาให้เล็ก ๆ แล้วนำไปเสียบให้เป็นขาสี่ขา สันนิษฐานตามความเชื่อถือกันมาแต่สมัยโบราณว่า “มะเขือม่วงนั้น”เปรียบเป็น ” ม้า ” และ “แตงกวา”ก็จะเปรียบเป็น ” วัว ” เชื่อกันว่าวิญญาณหรือผีของญี่ปุ่นนั้นจะไม่มีขา ว่ากันว่าเมื่อตายลงไปก็จะโดนตัดขาทิ้งเสียนั่นเอง ดังนั้นวิญญาณเหล่านี้จึงจะต้องมีหรือจะต้อง ใช้สิ่งสองสิ่งนี้เป็นที่นั่งและที่วางสัมพาระต่าง ๆ ของตนบรรทุกกลับมาสู่บ้านนั่นเอง

“มุไคเอฮี” เป็นการก่อกองไฟหรือจุดคบ ไฟมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ได้กลับมานั้นได้เดินทางสะดวกทั้งขามาและ กลับ เพื่อไม่ให้หลงทางไปทางไหน….ตัวอย่างที่เห็นในรูปนั้น เป็นการก่อคบไฟให้เป็นรูปตัว อักษรของคำว่า “ได” ซึ่งจะกระทำขึ้นทุก ๆ ปีที่วัด “ไดม่อนจี่ซามะ” ซึ่งเป็นวัดที่ มีชื่อเสียงของเมืองโอซาก้า เป็นคบไฟที่แสดงเตรื่องหมายของการรับกลับและไฟของการส่ง วิญญาณ ซึ่งธรรมเนียมการจุดคบไฟของวัดนี้ได้กระทำสืบเนื่องกันติดต่อกันมาตั้งแต่ในสมัย เอโดะ เป็นการก่อคบไฟบนภูเขาที่มีชื่อเสียงมากค่ะ